ลักษณะและพฤติกรรม
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเม่นแคระอัฟริกา ที่ได้รับความนิยมสูง
ลักษณะและพฤติกรรม
เม่น European Hedgehog
ขนาดลำตัวยาว 18-30 ซ.ม.หางยาวประมาณ 1.7-5 ซ.ม. หนัก 600-800 กรัม มีขนแข็งปรกติและยาวมีขนปกคลุมหนามากกว่า 3 ซ.ม. ขนอ่อนใต้ท้องสีเทาขนแข็งสีดำ-น้ำตาลอ่อน
ถิ่นที่อยู่อาศัย ในยุโรปทางด้านตะวันตก-ตะวันออก รัสเซียทางเหนือ เอเซีย
เม่น African white-bellied Hedgehog (สายพันธ์ที่เราเลี้ยงกันอยู่ในไทย)
ขนาดลำตัวยาว 15 ซ.ม. หนัก 500-700 กรัม มีนิ้วมือ 5 นิ้ว นิ้วเท้า 4 นิ้ว ขนปกคลุมลำตัวมีขนาด 2.5 ซ.ม.ขนเป็นสีขาวและเทา ท้องและขาเป็นสีขาว ถิ่นที่อยู่อาศัย ในอาฟริกา อากาศแห้ง มีต้นไม้เพียงเล็กน้อย
เม่น Desert Hedgehog
ขนาดลำตัวยาว14-28ซ.ม. หนัก300-500 กรัม ขนสามารถย่นได้ มีสีดำและมีส่วนผสมสีเหลืองขาว หูตั้งชี้ขึ้นมีสีเหลือง หน้าผากและหน้ามีสีขาว เท้าและหางสีน้ำตาลดำ
ถิ่นที่อยู่อาศัย ทะเลทรายทางเหนือและใต้ของอาฟริกา ประเทศอาระเบีย อาศัยในโพรงใต้ดิน ซอกหินและหน้าผา
Long-esred Hedgehog
ขนาดลำตัวยาว 15-28 ซ.ม.หนัก 400-500 กรัม ขนและขายาว หูยาวและตั้งขึ้น หูทำหน้าที่ระบายอากาศร้อนภายในตัว ขนแข็งสีครีม หน้ามีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ขาและหางสีขาว ท้องสีขาว เท้าสีน้ำตาลเทา
ถิ่นที่อยู่อาศัย พบอยู่บริเวณทะเลทรายลิเบียทางเหนือ อียิปต์ เอเซีย อินเดีย และมองโกเลีย ชอบอาศัยอยู่ในโพรงร้าง หรือที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนิดอื่นๆ บางครั้งอาจพบได้ตามพุ่มไม้เล็กๆตามสวนสาธรณะ ไม่ชอบอยู่เป็นกลุ่ม ชอบอยู่ลำพัง
เม่นแคระเป็นสัตว์สันโดษ หากินตัวเดียวในตอนกลางคืน กลางวันนอน มีนิสัยชอบอยู่ตัวเดียว หวงอาณาเขต บริเวณหากินของตัวเอง ดังนั้นไม่แนะนำให้เลี้ยงเม่นแคระมากกว่า 1 ตัวในพื้นที่เลี้ยงเดียวกัน เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เม่นแคระต่อสู้ กัดกัน เพื่อแย่งชิงอาณาเขตบริเวณในการหาอาหาร แนะนำให้เลี้ยงแยกกันโดยเด็ดขาด อาจจับรวมกันได้บ้าง กรณีต้องการจับคู่ผสมพันธุ์เมื่อเม่นแคระอยู่ในวัยที่เหมาะสม คือช่วงอายุประมาณ 5 เดือนขึ้นไป
เม่นแคระเป็นสัตว์ขี้ระแวง ชอบหลบซ่อนตัวในตอนกลางวัน ถ้ามีอะไรผิดปกติหรือไม่คุ้นเคย เม่นแคระมักจะซุกตัวหาที่ซ่อน หรือขดตัวม้วนกลม เก็บขา หน้าตา และทำหนามตั้งชันขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากอันตราย แต่หากเม่นแคระได้กลิ่นแปลกๆจากวัตถุ สิ่งของต่างๆ เม่นแคระมักจะกัดและเคี้ยววัตถุสิ่งของดังกล่าวจนเกิดเป็นฟองน้ำลาย แล้วนำฟองน้ำลายดังกล่าวมาแปะติดไว้ตามตัว เพื่อจดจำกลิ่นดังกล่าว หรือปรับตัวเองให้มีกลิ่นเหมือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยตามปรกติของเม่นแคระทุกๆตัว ดังนั้นควรระมัดระวัง และหาทางป้องกันไม่ให้เม่นได้รับอันตรายจากพฤติกรรมนี้ ด้วยการไปกัด เคี้ยววัตถุที่มีพิษ จนอาจทำให้ได้รับสารพิษดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายและเสียชีวิตได้ อีกอย่างผู้เลี้ยงเม่นแคระใหม่ๆ ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมนี้ จะได้ไม่ตกใจจนเกินเหตุ เมื่อเห็นเม่นแคระแสดงพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นนี้ เช่น ตอนเปลี่ยนอาหารแมวรสใหม่ให้เม่นแคระ หรือการที่เปลี่ยนถ้วยอาหาร หรืออุปกรณ์ใหม่ๆเข้าไปในพื้นที่การเลี้ยงดู
ผู้อ่านสามารถศึกษาได้จากหลายๆ แหล่งที่ให้ความรู้และขายสัตว์เหล่านี้อยู่ จึงได้มีการเรียกย่อยออกไปอีกหลายชื่อ ตามลักษณะที่พบ เป็นสัตว์หากินกลางคืน แต่ก็ตื่นทั้งกลางวันและกลางคืนคล้ายกับแมว เจ้าของจึงเล่นกับเขาได้ตลอดเหมือนเลี้ยงแมว ชอบอยู่เพียงลำพัง จึงเป็นข้อดีที่เขาจะเข้ากับเจ้าของได้ง่าย และทำกิจกรรมร่วมกัน เล่น ดูทีวี อุ้ม เที่ยวเล่น หรือนอนบนตัก ชอบขุดหลุมตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อซ่อนตัว และนอน ขยันหาอาหาร ถีบจักรเหมือนหนู แต่ไม่ได้หมายถึงจักรที่ต้องปีนป่ายแบบที่เห็นในหนู บางตัวชอบว่ายน้ำ มีความฉลาด และมีบุคลิกภาพส่วนตัว แต่ละตัวก็ต่างบุคลิกกันไป สามารถเล่นสนุกได้กับอุปกรณ์ที่จัดหาให้ง่ายๆ เช่น ตะกร้อพลาสติกเล็กๆ บางทีเรียกว่า “Hedgehog Wheel” ซึ่งนิยมนำมาให้เล่น สำหรับปีน ถีบ และดัน หลายคนนิยมประกอบบันไดในตู้เลี้ยง เพราะหลายตัวชอบปีนป่าย ขอนไม้ และท่อลอดต่างๆ ที่ทำเป็นทางวกวนไปมา แม้กระทั่งม้วนของทิชชู ก็เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เขามีความสุขได้ โดยการใช้หัวดุนให้หมุนกลิ้งไปเรื่อย ช่วยให้ได้ออกกำลังได้ดี
แม้ว่าเม่นแคระจะถูกสนใจและนำมาเลี้ยงมานานแล้ว แต่ยังมีความเป็นสัตว์ป่า และนิสัยดั่งเดิมอยู่มาก หากเป็นตัวที่ถูกจับมาหรือไม่คุ้นคน จึงไม่ค่อยจะทนต่อความเครียด การจับต้อง ก็จะป้องกันตัวเอง และส่งเสียงร้องหรือขู่ บางตัวก็ร้องไม่ยอมหยุดทั้งที่ไม่ได้ทำอะไร พบในเม่นแคระที่ใช้เป็นสัตว์ทดลอง หรือเลี้ยงแบบธรรมชาติในสวนสัตว์ ที่ไม่คุ้นการจับต้องแบบเม่นเลี้ยง แต่หากคุ้นเคยกับผู้เลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก หรือเกิดจากการเพาะพันธุ์ ก็จะไม่แสดงอาการหวาดระแวง การร้องหรือขู่ก็เมื่อเกี้ยวพาราสี ร้องหาแม่ หรือตกใจหวาดกลัวแต่ก็มีหลายอย่างที่แตกต่างจากหนู คือค่อนข้างขี้ระแวง หากมีอะไรผิดปกติ เช่น สิ่งของใหม่ กลิ่นแปลก ก็จะแสดงอาการต่อต้านหรือหลบเลี่ยง มักพบเล่นน้ำลาย แล้วเอามาป้ายขนตัวเองเสมอ ซึ่งไม่ใช่สิ่งผิดปกติ
เรื่องของการจำศีล
เนื่องจากเป็นสัตว์ท้องถิ่นของอัฟริกา ที่มีอากาศแห้งแล้ง และร้อน เม่นแคระอัฟริกาจึงไม่จำศีล แม้จะนำมาเลี้ยงในประเทศหนาวแล้วก็ตาม นั่นเป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งจากเม่นแคระพันธุ์ยุโรป เม่นแคระอัฟริกามีความสามารถในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย ทั้งจากอุณหภูมิภายนอก หรือฮีทเตอร์ที่เราจัดให้ และจากขบวนการเมตาบอลิซึมหลังจากได้รับอาหาร จึงจำเป็นต้องปรับอุณหภูมิที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับเขา รวมทั้งอาหารที่มีคุณค่า อย่างไรก็ตามในหน้าหนาว เม่นแคระอัฟริกาจะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับได้ (semi-stuporous state)
โดยเมื่อหน้าหนาวมาเยือน สัตว์เหล่านี้จะทำการขุดหลุมหรือโพรงเพื่อนอน แต่ไม่ใช่การจำศีล (hibernation) ที่แท้จริง ระดับเมตาบอลิซึมก็ยังสูงกว่าที่พบในการจำศีล หรือไม่สามารถทำให้ช้าหรือต่ำจนถึงระดับจำศีลได้ เหมือนในเม่นแคระยุโรป เม่นแคระอัฟริกายังออกมาข้างนอกโพรงเสมอ และกลับไปนอนยาว ครั้งละประมาณ 1 สัปดาห์ บางทีเรียกลักษณะแบบนี้ว่า สภาวะการหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว (Aestivation) เท่านั้น หากเจ้าของพยายามจะให้จำศีล ทั้งที่สัตว์ไม่สามารถตามธรรมชาติ จะทำให้เม่นแคระอัฟริกาตายเนื่องจากสภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (hypothermia) หรือขาดอาหาร หรือทั้งสองอย่าง
ขณะที่เม่นพันธุ์ยุโรปนั้น ตามธรรมชาติ เมื่อถึงหน้าหนาวจะเข้าสู่การจำศีล ซึ่งเป็นข้อดีของสัตว์ที่อาศัยในประเทศที่มีอากาศหนาว เมื่ออากาศเย็นลง ร่างกายมีความสามารถปรับตัวเองสู่การจำศีลได้อย่างไม่มีปัญหา เป็นการพัฒนาการมานับตั้งแต่โบราณ โดยจะเริ่มเข้าสู่การหลับ (stuporous state) ก่อนเข้าสู่การจำศีลอย่างสมบูรณ์ โดยจะค่อยๆ ลดเมตาบอลิซึมในร่างกายลง แต่ลักษณะกลไกของร่างกายดังกล่าว ก็สามารถเกิดอันตรายได้ เนื่องจากสัตว์จะไม่สามารถควบคุมความร้อนในร่างกายได้ หากไม่อยู่ในสภาวะจำศีล โดยเจ้าของไม่เข้าใจ ก็จะทำให้เม่นแคระยุโรปตายได้
ที่มาของข้อมูล :
ร่วมเผยแพร่โดย : www.thaipetonline.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น