วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ว่าด้วยสีอึของเม่น

ที่หยิบ หัวข้อนี้มาเขียน เพราะได้ยินคำถามนี้ มักจะบ่อย สำหรับผู้เลี้ยงใหม่ หรือ ผู้เลี้ยงหลายๆท่านที่สงสัย

เม่นแคระกับเรื่อง สีอึ หลายๆท่านอาจจะเคยสงสัย ว่าเม่นที่บ้านทำไมสีอึ ถึงเขียวบ้างหละ แดงบ้างหละ

ซึ่งโดยปกติแล้ว สีของอึจะขึ้นอยู่กับอาหารที่ เม่นนั้นได้ทานเข้าไป ..
.
โดย หากท่านให้อาหารแมว ที่มีสีเขียวก็เป็นไปได้ว่า อีของเม่นตัวนั้นๆ อาจจะออกมาเป็นสีเขียวก็เป็นได้

ดังนั้น เราอย่าพึ่งตกใจไป ว่าเม่นนั้นท้องเสียหรือไม่ ที่อึเป็นสีเขียว สำหรับให้อาหาร พวกอาหาสด (หนอนนก , แมลง)

สีของอึก็อาจจะคล้ำๆ หน่อย
.
ในบางครั้ง ช่วงการเปลี่ยนจากอาหารเก่า กับอาหารใหม่ ก็ทำให้สีอึของเม่นเพี้ยนไปเช่นกันค่ะ

รวมไปถึงการให้ พวกอาหารสดในบริมาณ มากๆ หลายๆมื้อติดต่อกันด้วยค่ะ
.
สำหรับเรื่องของกลิ่น

ในกรณีที่ให้อาหารสด อาจจะทำให้มีกลิ่นที่แรงกว่าอาหารแมว แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่เสมอไปค่ะ เพราะ

อาหารแมวส่วนใหญ่มักมีกลิ่นคาว ซึ่งเป็นสิ่งที่เม่นชอบ
———————————————————————————————————————
อธิบาย ลักษณะ อึและสี จาก meawaon
ตามปกติ อึเม่นจะมีลักษณะ เป็นก้อนสีออกไปทางน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มไปทางดำ ทั้งนี้ สีอึ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เม่นนั้นได้กินเข้าไป ซึ่งอาหารแมวบางยี่ห้อนั้น มีสีแดง ซึ่งอึออกมาก็อาจจะเป็นสีเองเป็นได้ค่ะ
ในบางครั้งเม่นอึออกมาก็อาจจะไม่เป็นสีดำก็ได้ค่ะ แต่การที่เม่นนั้นอึออกมาเป็นสีดำก็อาจจะเป็นเพราะว่าได้ทานหนอนนกที่ ตายแล้วก็เป็นได้ ความแข็ง หรือ ความเหลวของอึ นั้นก็อาจจะเป็นการ ทานอาหารที่มีน้ำเยอะหรือทานน้ำเยอะ
ซึ่งสำหรับผู้เลี้ยงสังเกตได้เลยค่ะว่าถ้าเม่นของเรานั้นยังทานอาหารได้ เหมือนเดิมตามปกตินั้น ก็ไม่น่าจะเป็นห่วงอะไรมากมายค่ะ สำหรับเม่นที่ไม่ทานอาหาร นี่แหละค่ะ อาการหน้าเป็นห่วงค่ะ ควรที่จะรีบปรึกษาแพทย์ ค่ะ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ลักษณะ สีอึเม่นแคระที่หน้าเป็นห่วง 

            1)อึสีเขียวเข้มเป็นเมือกเหนียว

        - สาเหตุ : เกิดจากความเครียด เช่น ย้ายที่อยู่ใหม่ ถูกรบกวนให้ตกใจบ่อยๆ ท้องว่างเพราะหิว เปลี่ยนอาหารใหม่ เป็นต้น

        - การรักษา : หากเป็นกรณีย้ายที่อยู่ใหม่ ปล่อยไว้ไม่เกิน 3 วันก็หาย หากเป็นกรณีอื่นๆต้องหาสาเหตุให้พบและแก้ไขที่ต้นเหตุ

            2) อึเหลวสีน้ำตาลอ่อน

        - สาเหตุ : เกิดจากการกินอาหารบางประเภท เช่น ผลไม้บางอย่าง

        - การรักษา : จำกัดปริมาณอาหารชนิดนั้นๆ หรือให้บ้างเป็นครั้งคราว

            3) อึสีเขียวอ่อน ถึง ขาว เหลวเป็นน้ำ
        - สาเหตุ : ความสกปรกของอาหาร น้ำ หรือ กล่องเลี้ยง ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร

        - การรักษา : ล้างทำความสะอาดกล่องเลี้ยง , เปลี่ยนขี้เลื่อยบ่อยๆ อย่างน้อย 2-3 วัน/ครั้ง , เก็บอึ+ฉี่บ่อยๆเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคในกล่องเลี้ยง , เปลี่ยนน้ำ+อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น , ไปพบสัตวแพทย์  
 
 
บทความเขียนขึ้นโดย : www.thaipetonline.com

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลเจ้า เม่นใหญ่


1_01_04_09_1_35_49

วันนี้เรานำข้อมูลเจ้า เม่นใหญ่, เม่นใหญ่แผงคอยาว มาให้เพื่อนได้ทำความรู้จักกันค่ะ

ข้อมูลเบื้องต้นในเว็บของเรา เพื่อนๆก็คงรู้จักกันดีแล้วสำหรับ เม่นแคระ แต่ถ้าสำหรับเม่นใหญ่ หละ หลายๆท่านก็คงจะยังไม่รู้จักกัน
เม่น เป็นสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนู ความยาวตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง 63-70 เซนติเมตร หนัก 3-7 กิโลกรัม สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ก็คือ มีหนามแหลมแข็งขึ้นบริเวณหลัง หนามของเม่นมีลักษณะกลวง โคนและปลายหนามสีขาว ตรงกลางสีดำ จมูกป้าน ไม่แหลมอย่างหนู หนวดยาวสีดำ ขนใต้คอสีขาว บริเวณหัวและส่วนด้านหน้าปกคลุมด้วยขนสั้นสีน้ำตาล
การ ป้องกันตัวของเม่นคือการวิ่งหนี ถ้าศัตรูไล่ตามมันจะหยุดอย่างทันที ถ้าศัตรูหยุดตามไม่ทันก็จะต้องชนเข้ากับหนาม หนามของเม่นหลุดง่าย จึงมักปักคาอยู่ตามปาก จมูก และอุ้งตีนศัตรู สร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก
เม่น พบแถบภาคใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อาศัยได้ในป่าทุกชนิด ขุดโพรงอยู่ใต้ดิน ออกจากโพรงมาหากินเวลากลางคืนโดยลำพัง อาหารได้แก่รากไม้ เปลือกไม้ และผลไม้ที่ตกอยู่ตามพื้นป่า นอกจากนี้เม่นยังชอบแทะกระดูกสัตว์ด้วย
เม่นผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ ได้ 2 ปี ตั้งท้องนาน 4 เดือนก็ออกลูก ลูกครอกหนึ่งมีประมาณ 1-3 ตัว ลูกเม่นแรกเกิดหนามยังอ่อนนิ่มอยู่ หลังจากนั้นจึงค่อยแข็งขึ้น
ในแหล่งเพาะเลี้ยง เม่นมีอายุได้ถึง 30 ปี
ชื่อไทย เม่นใหญ่, เม่นใหญ่แผงคอยาว

ชื่ออังกฤษ
Malayan Porcupine

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hystrix brachyura
อาณาจักร Animalia

ไฟลัม Chordata

ชั้น Mammalia

อันดับ Rodentia

วงศ์ Hystricidae
ทราบหรือไม่?

* เม่นสลัดขนไม่ได้

* ว่า กันว่า เสือดาวฉลาดมาก สามารถจับเม่นกินโดยไม่เคยได้รับอันตรายจากขนเม่นเลย ในขณะที่เสือโคร่งและสิงโตต่างเคยถูกขนเม่นเล่นงานเอาเสมอ
ข้อมูล : http://www.verdantplanet.org

การผสมพันธ์ เม่น

เรื่องการผสมพันธุ์ เม่นแคระ
การผสมนั้นมีได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงและเม่นเป็นสำคัญ วิธีนั้นไม่ตายตัว ขอแค่ ให้ตัวผู้ขึ้นตัวเมียได้เท่านั้นพอ เราจะแนะนำ วิธีการจับคู่ผสมพันธุ์ แบบที่เราได้ใช้อยู่ในปัจุบันให้เพื่อนๆ สมาชิกได้ ทราบกัน สำหรับบางท่าน ที่ยังหาวิธีจำคู่ไม่ได้ ยังไงลองนำวิธี ดังกล่าวนี้ ไปทดลองใช้ก็ไม่ว่ากันค่ะ


1_28_04_09_10_00_08


สำหรับการเพาะเลี้ยง หรือ การจับคู่ ควรให้เม่นมีอายุที่พร้อมแก่การผสมพันธุ์ค่ะ เนื่องด้วย หาก ผสมก่อนวัยอันควร ก็สามารถทำให้ เม่นตัวดังกล่าวอายุสั้น และ โทรมลงอย่างรวดเร็ว ได้ค่ะ อีกทั้งลูกที่ออกมา ก็แคระแกรน ทำให้สายพันธุ์ของเม่นเรา ตกต่ำไปอีกด้วยค่ะ เห็นใหมหละค่ะว่า ไม่คุ้มกันเลยกับการรีบจับคู่ผสมพันธุ์
วิธีการผสมพันธ์ แบบ บ้านแมวอ้วน
  • เม่น อายุเกิน 5 เดือน
  • เลือกเม่นที่เข้ากันได้ ( แต่จิงๆถึงเข้าไม่ได้ ถ้าตัวผู้มันหื่นมันก็ข่มขืนอยู่ดี) แต่ข้อแตกต่าง คือ ลูกเม่น ที่ออกมาจากพ่อแม่ ชอบกันนั้น จะเยอะกว่า แล้วก็สมบูรณ์ สีสวยกว่า พ่อและแม่ตั้งใจทำก็ว่าได้ อะไรประมาณนั้น
  • วิธีใส่ แนะนำ ให้ใส่ ตัวเมียลงตัวผู้ ดีกว่าเยอะ เพราะอะไรนั้นหรอ เพราะ ปกติเม่นที่ลงไปอยู่ในที่ใหม่ๆ หรือเขตของเม่นตัวอื่นจะ กลัว กลัวมาก กลัวมากที่สุด แล้วตัวผู้ก็จะใช้กำลัง ขืนใจตัวเมีย ง่ายขึ้น
  • เวลาในการใส่ แบ่งเป็น 3-5-7 วัน แล้วแต่ (คำถามตามมา ว่าแล้วจะรู้ได้ไงว่ามันจะติดตอนไหน อันนี้ แนะนำว่า ให้ใส่ ไป 7วันเลย เพราะ ใน 7 วัน เม่นมันผสม ทุกวัน อยู่แล้ว เวลาไข่ตก(ตัวเมีย) ของเม่นนั้นจะเกิด ทุกๆ ประมาณ 7 วัน ไงก็ติด ) แต่ให้สังเกตุว่า เม่นตัวเมีย หนี แบบปิดปกติ หรือป่าว ถ้าหนี แบบสุดๆ เป็นไปได้ว่า เม่นท้องแล้ว เพราะ ที่เคยสังเกตุมา เม่นทับติดแล้วจะไม่ยอมให้ตัวผู้ขี่อีก
  • เม่นท้อง น้ำหนักจะขึ้น ประมาณ 50-250 อันนี้ขึ้นก่ะจำนวนน้องเม่นในท้องก่ะ จำนวนวันที่เม่นท้อง และก็ อยู่ประมาณ 34 วัน อาการอื่นก็จะมี กินเยอะ อึ ถ่ายเป็นที ไม่ค่อยให่จับ (แต่แนะนำให้ทำประวัติ น้ำหนัก จะดีที่สุด ก่อนหลังผสม แม่นสุดจ้า)
  • ที่คลอด กล่องต้องพร้อม ที่อยู่ ต้องไม่ทำให้เม่นเคลียด ไม่มีการเคลื่อนย้าย เปลี่ยนขี้เลื่อย หลายๆๆกระทู้ มักมีการกินลุกเกิดจากเม่นเคลียดไม่พร้อม มีกลิ่นเม่นตัวอื่น เจ้าของยุ่งก่ะมันมากไป
  • บ้านเม่น ทำให้พร้อม มี 2 ส่วน ตัวห้องน้ำ ก่ะ ที่ให้อาหาร โดยปกติ เม่นจะออกมากินเอง แล้วถ่ายนอกห้องนอนอยู่แล้ว เปลี่ยนขี้เลื่อยได้หลังจาก คลอดได้ ประมาณ 7 – 14 วันขึ้นไป แต่ต้องระวังให้มาก เปลี่ยนแค่ที่ถ่าย เก็บอึ บางส่วนพอ อย่าเอาออกหมด ผิดกลิ่นไม่ได้เลย
  • ตัวห้องนอน ต้องมีอากาศถ่ายเทได้ ไม่ใช่ปิดตายมีแต่ประตู เพราะแม่เม่นจะไม่อยู่ในบ้าน ออกนอนนอกบ้านเพราะมันร้อนไม่ยอมให้นม เรื่องแสง ก็สำคัญ ไม่ควรให้แสงเข้าไปในส่วนตัวห้องนอน
การจับคู่สามารถทำได้หลายวิธี แล้วแต่เทคนิค ของแต่ละท่าน หากท่านใดมีวิธีอื่นๆ แนะนำมาให้ทราบกันบ้างนะค่ะ บทความนี้ผู้เขียนได้ทำการเรียบเรียงจากประสบการณ์ ในการเลี้ยงดูเม่นแคระ ขอมอบเป็นลิขสิทธิ์ แก่เว็บ ไทยเพ็ทออนไลน์

กล่องเลี้ยงเม่นที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

วันนี้ขอแนะนำ รายละเอียดของกล่องเลี้ยงเม่นที่ถูกสุขลักษณะ ให้เพื่อนๆชาวเม่นแคระมือใหม่ให้ทราบกันนะค่ะ และช่วงนี้ก็มี ผู้ขาย กล่องเลี้ยงเม่น หรือ รับทำตามแบบที่ต้องการ อยู่หลายร้าน แต่ละร้านก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ซึ่ง กล่องเลี้ยง ที่ทำออกมาก็ ควรที่จะเหมาะกับสัตว์ที่จะเลี้ยงด้วยค่ะ พูดมากไป เดี่ยวจะวนไปวนมา ยังไงเรามาาดูรายละเอียดด้านในกันเลยค่ะ
237_12_05_09_7_35_16
1. จำนวนที่เลี้ยง อันนี้สำคัญมาก ว่าควรเลี้ยง 1 กล่อง ต่อ 1 คู่

เพราะหากเป็นตัวผู้กับตัวเมียเลี้ยงรวมกัน จะมีโอกาสสูงมาก ที่จะท้องก่อนวัยอันควรเปรียบไป

ก็เหมือนกับเด็กผู้หญิง อายุสัก 12 ขวบ เพิ่งมีประจำเดือนได้ไม่เท่าไหร่ก็ตั้งท้องเสียแล้ว คุณว่าแบบนั้นมันจะดีกับแม่หรือลูกในท้องหรือป่าว
2. ขนาดพื้นที่

กว้าง x ยาว ~ 45 x 60 cm เพื่อให้น้องเม่นได้มีที่วิ่งเล่นออกกำลังบ้าง เพื่อสุขภาพที่ดี หากใครเห็นว่าเม่นมันนอนอย่างเดียวทั้งวัน ขอให้รู้ว่าคุณคิดผิดนะค่ะ เพราะเม่นเป็นสัตว์กลางคืน กลางวันที่มีเแสงไปมากจะทำให้น้องเม่นเอาแต่นอน


3. พื้นผิว

พื้นผิวของกล่องเลี้ยงที่ดี คือไม่ควรมีลักษณะเป็นซี่กรง เพราะเมื่อน้องเม่นเดินไปเดินมา หรือปีนป่ายกรงเล่น จะมีโอกาสมากที่ขาจะติดกับซี่กรง(โดนกันเกือบทุกราย) และเมื่อขาติดแล้ว น้องเม่นไม่ได้คิดเหมือนคนที่ว่าติดแล้วเอาไม่ออก ขยับมากก้อเจ็บเด๋วรอคนมาช่วยดีกว่า
แต่น้องเม่นจะคิดว่า ” เฮ้ยอะไรมาจับขาตูฟ่ะ ปล่อยเด๋วนี้นะ ” แล้วก้อจะดิ้นๆ ๆ จนกว่าจะหลุดโดยไม่สนใจว่าขาจะเจ็บจะหักยังไง ประมาณว่าเสียขาข้างนึงดีกว่าเสียชีวิต
ซึ่งถ้าโชคดี(มีไม่บ่อยนัก)อาจจะไม่เป็นอะไรเลย แต่ถ้าโชคไม่ดีกว่าจะออกมาได้ก้อเจ็บขาซะจนเดินกะเพลก หรือต้องลากขาไปหลายวัน และถ้าร้ายไปกว่านั้นอาจจะขาหักเลยก้อมี
นอกจากนี้ พื้นผิวที่ใช้สำหรับเลี้ยงเม่น(หรือสัตว์อื่นๆด้วย) ไม่ควรเป็นพื้นผิวที่สามารถดูดซึมน้ำได้ เช่น ลังกระดาษ เพราะจะทำให้ซับฉี่และอมเชื้อโรคไว้ หากจำเป็นต้องใช้ของพวกนี้ชั่วคราว ก้อขอให้เปลี่ยนกล่องทุกวันล่ะกันค่ะ เพื่อสุขภาพของเจ้าเงาะน้อย
พื้นผิว ไม่ควรที่จะเรียบจนเกินไปด้วย เพราะจะทำให้การเดิน เหินของเม่นยากกว่าเดิม เดี่ยวเดินไปเดินมา ขาถ่างไปถ่างมา จะแย่เอาค่ะ แต่ส่วนมากแล้วกล่องเลี้ยงมักจะผิวเรียบค่ะ ดังนั้นเราควรมีวัสดุปูพื้นให้กับเม่น และ ควรที่จะใส่ในปริมาณที่เหมาะสมด้วยค่ะ
4. ฝาปิด

ฝาปิดที่ดีไม่ควรเป็นแบบทึบ เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรเป็นแบบโล่งหรืออาจจะเปิดโล่งไปเลยก้อได้ หรือจะทำเป็น ตะแกรง ก็ดีค่ะช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นเข้ามารบกวน
5. สถานที่เลี้ยง ( อันนนี้ขอแนะนำเพิ่มเติมคร่าวๆก่อนนะค่ะ เอาไว้อ่านต่อในหัวข้อต่อไปค่ะ )

สุดท้าย สถานที่วางกล่องเลี้ยงเม่น ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อจะได้ไม่เหม็นอับ อันจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อโรค และส่งผลร้ายก่อโรคกับเจ้าหนามในที่สุด

ที่มาของเนื้อหา : คุณ Kidd

อาหาร...ที่มีพิษที่อาจทำให้เสียชีวิตได้

1.ต้นเทียนหยด ส่วนที่เป็นพิษ คือ ใบ ผล

ลักษณะ กลีบดอกเป็นหลอดสั่น ๆ ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลออกเป็น ช่อ ห้อยลง รูปกลมสีเกลียว

เมื่อสุกเป็นสีเหลือง
อาการ รับประทานเข้าไปอาจตายได้ จะทำให้อาเจียน ตาพร่า ปวดท้อง มีไข้ ปวดศรีษะ

กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับพิษมาก เม็ดเลือดแดง แตกได้ เป็นกับคนแล้วยังเป็นพิษต่อสัตว์อีกด้วย
************************************************************
2.มันแกว ส่วนที่เป็นพิษ คือ มันแกวพืชที่มีหัวใต้ดินซึ่งรับประทานได้

แต่บางส่วนของมันแกวก็เป็นพิษได้ เช่น เมล็ด และ ใบ ของมันแกวนั้นเป็นพิษ
ลักษณะ ไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดิน เป็นรากสะสมอาหาร ใบ ประกอบแบบขนนก

มีใบย่อย 3 ใบ ที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก

รูปขอบขนาน แบน มีขน เมล็ดมี4-9 เมล็ด
อาการ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร คลื้นไส้ อาเจียน

การหายใจเข้าไปพิษจะรุนแรงกว่านี้ โดยไปกระตุ้นระบบการหายใจ ตามด้วยการกดการหายใจ

ซัก และอาจถึงชีวิตได้ มีรายงานว่าถ้ารับประทานเมล็กมันแกวเพียงครึ่งเมล็ดจะเป็นยาระบาย และ

บางแห่งใช้เป็นยาขับพยาธิ ดังนั้นควรระมัดระวัง
************************************************************
3.รำเพย ส่วนที่เป็นพิษ คือ น้ำยาง เมล็ด

ลักษณะ ไม้พุ่มสูงได้ถึง 4 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มใหญ่ ใบเดี่ยว รูปเรียวยาว ปลายและ

โคนใบแหลม ขอบใบขนาน แผ่นใบแคบมาก ใบจัดแบบสลับ ดอก เดี่ยว หรือเป็นช่อสั้น ๆ

มีดอก 3 สี คือ ต้นดอก สีขาว ดอกสีเหลือง และดอกสีส้ม
อาการ ถูกผิวหนัง จะมีอาการแพ้เป็นผื่น แดง แสบ ถ้าเคี้ยวเมล็ดจะรุ้สึกชาที่ปากและลิ้น

หากมีอาการหนัก รักษาไม่ทันอาจตายได้ หมายเหตุ หากเด็กรับประทาน 1-3 เมล็ด

ผู้ใหญ่รับประทาน 8-12 เมล็ด อาจตายได้ในที่สุด
************************************************************
4.ไฮแดรนเยีย ส่วนที่เป็นพิษ คือ ทั้งต้นสด

ลักษณะ ดอกสีน้ำเงิน ฟ้า ชมพู่อ่อน หรือเมื่อบานๆ จะเป้นสีขาวกิ้งก้าน ใบ เดี่ยว

รูปไข่ โคมใบมน ปลายใบมน แต่แหลมกว่าโคนใบ
อาการ เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื่อทำงานไม่สัมพันธ์กันถ้าเป็นมากหมดสติ บางรายมีอาการชัก
************************************************************
5.ราตรี ส่วนที่เป็นพิษ คือ ใบ ผล เปลือกต้น

ลักษณะ กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแบ่งเป็น 5 แฉก ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมมาก

อาการ มึนงง ม่านตาขยาย อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็ว ปัสสวะไม่ออก การหายใจช้าลง
************************************************************
แหล่งที่มา

website : www.thaipetonline.com

วิธีผสมอาหารสำหรับเม่นแคระป่วย

 

1.ต้องนำมาผสมกับอุ่นก่อนนะ ตามอัตราส่วนที่บอกไว้ข้างกล่อง
2.ควรตักครั้งละน้อยๆ อย่าผสมมมากเผื่อน้องเม่นกินไม่หมดค่ะ และ น้ำที่นำมาผสมควรจะเป็นน้ำต้มสุกแล้ว
3.แล้วคนให้เข้ากัน หากข้นเกินไปก็เติมน้ำอีกนิดหน่อยค่ะ แล้วทิ้งไว้สักพัก รอจนหายร้อนแล้วถึงนำมาป้อนน้องเม่นนะค่ะ
ที่มาของเนื้อหา : คุณ TATOJUNG

หัวข้อนี้คุณอ่านหรือยัง ?

ข้อแนะนำสำหรับอาหารจำพวกผัก และ ผลไม้

ข้อแนะนำสำหรับอาหารจำพวก ผัก และ ผลไม้
การให้อาหาร จำพวก ผัก และผลไม้ ควรที่จะคอยระวังปัญหาที่อาจจะเกิดตามมา

ซึ่ง การให้อาหารจำพวกนี้ เราควรที่จะทำความสะอาด และ คอยตรวจดูอยู่เสมอ ว่าเม่นนั้นได้กิน หมดหรือไม่ เพราะอาหาร

จำพวกนี้บางชนิด เมื่อทิ้งไว้นาน อาจจะทำให้ เน่า หรือเสียได้ค่ะและ ถ้า มีการบูด หรือเสีย แล้วมันนั้นได้มากิน ก็อาจจะทำให้

เม่นนั้น ท้องเสีย ตามมาได้ด้วย
ซึ่งโดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อน สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ควรระวังเป็นอย่างมากค่ะ

ในช่วงที่อากาศร้อนนี้อาหารจะ เสียได้ไว กว่าปกติ สำหรับสมาชิกบางท่านอ่านอาจจะอยากรู้ว่า เราสามารถให้ ผักและผลไม้

ชนิดใหนบ้าง ได้ข้อ สรุป และข้อแนะนำมาให้เพื่อนๆได้อ่าน และ

ศึกษากันค่ะ นอกจากที่แนะนำมาแล้วในข้างต้น ค่ะ

- เรื่องความสะอาด และ สารพิษ

ผักและ ผลไม้บางชนิดนั้น มีการฉีดยา เพื่อป้องกันพวกแมลง หรือ หนอน ต่างๆสารเหล่านี้นั้นอาจจะเปรียบเสมือน

ยาพิษสำหรับเม่นแคระได้ค่ะ ดังนั้น ก่อนที่เราจะให้อาหารจำพวกนี้ ควรที่จะตรวจดูและ ทำความล้างสะอาด ให้ดีก่อนนะค่ะ
- ไม่ควรทิ้งอาหารไว้ข้ามวัน

อย่างที่แนะนำไปในข้างต้นแล้วนั้นค่ะ อาหารจำพวกผักผลไม้นั้นเป็น อาหารจำพวกที่ มีการเน่าเสียได้ง่ายค่ะ
เราควรที่จะเก็บทิ้ง เมื่อเม่นนั้นไม่ กินแล้ว แต่โดยปกติแล้ว เม่นก็ไม่ค่อยจะชอบกินสักเท่าใหร่ค่ะ
- การให้เยอะจนเกินไป

สำหรับเม่นแล้ว อาหารจำพวกนี้ อาจจะไม่ใช่ของโปรด เลยก็ว่าได้ค่ะ แต่ถึงอย่างไรแล้วก็ จะอยู่ที่นิสัยของเม่นแต่ละตัวด้วย
เม่นบางตัวอาจจะชอบกิน ผลไม้มากกว่าผัก หรือ บางตัวอาจจะไม่ชอบทั้ง สองอย่างเลยก็ว่าได้
- ผลไม้ ที่ส่วนมาให้กินกัน

สำหรับผลไม้ที่ สามารถให้กินได้ หรือ ที่มีการให้กินกัน ก็จะมี แอปเปิ้ล ฝรั่งแบบไม่มีเม็ด ชมพู่ เป็นต้น

ผลไม้นั้นส่วนใหญ่จะมี พวกน้ำตาลสูงค่ะ และ สำหรับ พวกผัก ก็จะมีพวก กากใยอาหาร ไฟเบอร์สูงค่ะ อย่างไรสำหรับผู้ให้ก็

ควรระวังด้วยนะค่ะ
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด

เราควรหลีกเลี่ยง ผลไม้ ที่มีรสเปรี้ยว ผลไม้ที่มีรสเปลือกแข็ง และ เมล็ดผลไม้ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้เม่นนั้นมีปัญหาเรื่อง ลำไส้อึดตัน ได้ค่ะ
- ส่วนมากให้แล้วเป็นอย่างไร

ส่วนมากแล้ว เม่นจะไม่ค่อยกิน ค่ะอันนี้เราว่า เป็นสิ่งปกติค่ะ เพราะว่าโดยธรรมชาตินั้น เม่นก็กินอาหารจำพวก เนื้อสะมากกว่า
หากเป็นอาหารจำพวกผัก น้อยค่ะ แต่ถ้าเป็นผลไม้ อาจจะมีบ้างค่ะ เพราะว่า ในธรรมชาติ เม่นอาจจะกินผลไม้จากที่หลนจากต้นไม้ก็ได้ค่ะ อันนี้อาจจะเป็นเพียงความคิดเห็นของเรานะค่ะ  อิอิ
- ขอแนะนำเสริมอีกนิดนะค่ะ

เราไม่ควรให้อาหารจำพวกผัก ผลไม้ ในขณะที่เม่นนั้นท้องแก่ หรือ เม่นที่มีลูก หรือ เลี้ยงลูกอยู่ค่ะ เพราะว่าถ้าเกิดสิ่งเหล่านี้เรา

ป้องกันไม่ดีอาจจะทำให้ท้องเสียได้ค่ะ แล้ว ผลที่ตามมาอาจจะมีผลกระทบต่อลูกของเม่นได้ค่ะ
อาหารต่างๆเหล่านี้ ไม่ควรให้เป็นประจำ อาจจะไม่ให้เลยก็ได้เหมือนกันค่ะ แต่ถ้าถามว่าให้แล้วดีใหม เราว่าก็น่าจะมีส่วนดีกว่า

ไม่ให้เลยค่ะ แต่ถ้าถามว่า ไม่ให้เลยได้ใหม เราขอตอบว่าได้ค่ะ เพราะว่า สารอาหารบางอย่างที่มีในผลไม้และ ผัก นั้นเราสามารถ

หาอาหารชนิดอื่น มาแทนพวกผักและผลไม้ ก็ได้ค่ะ
** ของบางอย่างนั้นไม่ให้เลยไม่เสียหาย แต่ ถ้าให้ก็อาจจะเป็นอันตรายได้ค่ะ

โรคที่พบบ่อยในเม่น

โรคที่พบบ่อย สำหรับเม่นแคระ

โรคฟัน
เมื่อแก่ตัว ก็มักจะพบฟันสึก สัตว์มักตะผอมลง น้ำหนักลดเพราะแทะอาหารแข็งไม่ได้ดี ต้องปรับอาหารให้เหมาะสม ทั้งคุณภาพและความอ่อนนุ่มของอาหาร
img by : nkeon
รูป by : nkeon
โรคทางเดินอาหารจากเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัว

เช่น E. coli, Campylobacter แต่ที่พบมักจะเป็น Salmonella sp. นอกจากนี้เม่นแคระ ถือว่าเป็นสัตว์อมโรคชนิดนี้อยู่ โดยไม่แสดงอาการ จะแสดงอาการเมื่อร่างกายอ่อนแอลง และติดต่อไปยังตัวอื่นและลูกได้ โดยพบในเม่นแคระอายุน้อยก่อนหย่านม และช่วงเปลี่ยนอาหาร อาการที่พบมีทั้งถ่ายเหลว และถ่ายแบบมีมูก บางรายการจัดการไม่ดีก็พบรุนแรงยิ่งขึ้น เกิดจากการปนเปื้อนเชื้อในอาหาร หรือแมลง หรือหนอน อาการท้องเสียจากเชื้อคอคซิเดีย (Coccidiosis) พวกนี้จะถ่ายแบบมีมูก จนถึงบิดมูกเลือด อย่างไรก็ตามเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัวในเม่นแคระที่แข็งแรงและอายุมาก จะหายได้ด้วยตัวเอง (self limiting) และอาจจะแสดงอาการไม่กี่วันตามวงชีวิตของเชื้อ และพยาธิกำเนิด จากลำไส้เล็กส่วนต้น มาจนถึงลำไส้ใหญ่ และขับออกตามธรรมชาติ


แต่อย่างไรก็ตามเชื้อเหล่านี้เป็นอันตรายต่อเม่นแคระที่ยังเป็นเด็กและไม่หย่านม หรือมีการติดเชื้อปริมาณสูง เชื้อ E.coli และ Campylobacter จะทำให้ถ่ายเหลวเป็นน้ำ เป็นชนิด osmotic diarrhea หากเป็นมากสัตว์จะเกิดสภาวะสูญเสียน้ำ ขาดน้ำ (dehydration) และตายได้ มักพบและรุนแรงในสัตว์อายุน้อย เชื้อ Salmonella และคอคซิเดีย จะทำลายผนังเซลเยื่อบุลำไส้ด้วย จึงมีเลือดออกปะปนมากับอุจจาระ เป็นมูกจนไปถึงมูกเลือด การรักษานอกจากจะต้องเลือกยาที่เหมาะกับเชื้อแล้ว ในบางรายต้องทำการรักษาโดยการให้สารน้ำ สารอาหารทดแทน การเลือกใช้ยาก็มีข้อควรระวัง เพราะเชื้อส่วนใหญ่เป็นแกรมลบ และคอคซิเดียเป็นโปรโตซัว การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะออกฤทธิ์สำหรับกลุ่มแกรมบวกนั้นกำจัดไม่ได้ และยังไปทำลายแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในทางเดินอาหาร
เจ้าของที่ไม่ทราบนั้นมีเป็นจำนวนมาก และมักจะคิดว่าตนรักษาหาย ทั้งที่เชื้อหลายชนิดมันหายได้กลไกของร่างกายสัตว์และเชื้อเอง หากรักษาไม่หายขาด เชื้อบางตัวจะกลับมาใหม่ เช่นคอคซิเดีย จะยังคงมีอยู่ในร่างกาย
โรคอ้วน

เป็นอีกโรคที่สำคัญ เพราะส่งผลให้เกิดโรคตับในเม่นแคระได้โดยมีความสัมพันธ์กัน
โรคทางเดินหายใจจากเชื้อโรคเดียวกันกับหนู กระต่าย สุนัข เช่น จากเชื้อ Bordetella brochiceptica, Pasteurella multocida, และ Mycoplasma เป็นต้น
โรคเกี่ยวกับเลือด

มักมีสาเหตุมาจากโรคตับ มะเร็ง หรือขาดสารอาหาร
โรคไตในเม่นแคระอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป กระเพาะปัสสาวะอักเสบ นิ่ว
โรคตา

ทั้งการอักเสบธรรมดา มีแผลหลุม ไปจนถึงต้อหิน ต้อกระจกเมื่อแก่
โรคผิวหนังจากไร หมัด และเชื้อรา ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามเชื้อนั้นๆ เช่นคัน แผลเกาหรือถู หากเป็นเชื้อรา ก็มักจะพบขนเปราะ ผิวหนังแห้งหยาบ เป็นวงนูนยกตัว เป็นปัญหาที่พบได้เสมอๆ การอาบน้ำและใช้น้ำยากำจัด รวมทั้งการฉีดยาป้องกัน หรือรักษาอย่างไอเวอเมกติน ก็นิยมปฏิบัติกันในรายที่พบว่าติดไร หรือหมัดรุนแรง แต่ต้องร่วมกับการกำจัดในที่อาศัยร่วม
กลุ่มอาการทางประสาท

เช่น Wobbly hedgehog syndrome (WHS) สัตว์จะแสดงอาการอัมพาต เป็นโรคทางพันธุกรรม เกิดเนื่องจากยีนด้อย (recessive gene) มีการรณรงค์เรื่องนี้ โดยการคัดเลือกสายพันธุ์ที่แข็งแรง ในเมืองนอกนับว่าไม่ค่อยพบแล้ว แต่ในเมืองไทยอาจจะยังมีการหลอกขายกัน หรืออาจจะยังมีอยู่ แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันชัดเจน เพราะการตรวจนั้นยาก นอกจากสงสัยจากอาการที่พบ รวมทั้งการซักประวัติไปยังพ่อแม่ และลูกในแต่ละครอก หากมีอาการดังกล่าว ให้สงสัย ควรทำการคัดแยก ไม่ทำการขยายพันธุ์ชุดที่มียีนด้อยดังกล่าวต่อ
นอกจากนี้ยังมี เนื้องอก ที่พบได้เหมือนในหนู ทั้งภายนอกและที่อวัยวะภายใน พบมากในเม่นแคระอายุมากขึ้นไม่มีความจำเป็นในการให้วัคซีนในเม่นแคระ เนื่องจากมีความทนทานต่อโรค อายุจะยืนกว่าหนู อายุประมาณ 4-7 ปีทีเดียว ซึ่งเรื่องโรคต่างๆ อาจจะนำมากล่าวโดยละเอียดในภายหลัง

ข้อมูลจาก

หมอแก้ว (ผศ. น. สพ. สมโภชน์ วีระกุล)